เหรียญพระพุทธทักษิณมิ่งมงคล (เขากง) ปี 2511 วัดเขากง จ.นราธิวาส
เหรียญพระพุทธทักษิณมิ่งมงคล ปี 2511 วัดเขากง จ.นราธิวาส
จัดสร้างโดยนำชนวนมวลสารจากเกจิอาจารย์ดัง-สายใต้มากมาย อาทิเช่น หลวงปู่นาค วัดระฆัง อาจารย์นอง วัดทรายขาว หลวงพ่อแดง วัดเชิงเขา อาจารย์ชุม ไชยคีรี ฯลฯ และยังได้ทำการปลุกเสกอีกหลายวาระ
รายนามพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสก
1.พ่อท่านเส้ง วัดแหลมทราย จ.สงขลา
2.พ่อท่านแสง วัดคลองน้ำเจ็ด จ.ตรัง
3.พ่อท่านเมือง วัดท่าแหน ลำปาง
4.หลวงปู่นาค วัดระฆัง กทม.
5.พ่อท่านหมุน วัดเขาแดงตะวันออก จ.พัทลุง
6.พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี
7.หลวงพ่อดำ วัดตุยง จ.ปัตตานี
8.พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง
9.พ่อท่านเขียว วัดหรงบล
10.ฆราวาสสายเขาอ้อ ท่านขุนพันธุ์ฯ อาจารย์ชุม ไชยคีรี ฯลฯ
เหรียญรุ่นนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จมาเป็นประธาน สร้างจากชนวนวัตถุมงคลเก่าๆและตะกรุดของเกจิอาจารย์จำนวนมาก และต่อมายังเข้าปลุกเสกอีกหลายวาระ ในพิธีเททอง ขณะกำลังหลอมโลหะวัตถุดิบ ว่ากันว่าแผ่นยันต์ของพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้, พ่อท่านเส้ง วัดแหลมทราย และของอาจารย์นำ วัดดอนศาลา หลอมไม่ละลาย ทำให้ต้องตักแผ่นขึ้นมาใหม่ทำพิธีอีกจึงหลอมได้สำเร็จ
วัดเขากง สถานที่ประดิษฐาน บริเวณพุทธอุทยาน วัดเขากงมงคลมิงมิตรปฏิฐาราม ตำบลลำภู อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส สถานที่อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่เป็นศรีสง่าแก่ภาคใต้องค์หนึ่งได้แก่ พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล การก่อสร้างได้เริ่มขึ้นในปี ๒๕๐๙ แล้วเสร็จในปี ๒๕๑๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเสด็จพระราชดำเนินทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเมื่อปี ๒๕๑๓
พระพุทธทักษิณมิ่งมงคลเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่มีพุทธลักษณะงดงาม ประกอบกับประดิษฐานอยู่ยอดเขาจึงสูงเด่นเป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธา วัดเขากง-พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล จากตัวเมืองใช้ทางหลวงสายอำเภอเมืองนราธิวาส อำเภอระแงะ (ทางหลวงสาย 4055) ประมาณ 6 กิโลเมตร ถึงกิโลเมตรที่ 105 จะมองเห็นวัดเขากงและพระพุทธรูป ทักษิณมิ่งมงคลสีทอง ประทับนั่งปางประทานพรอยู่บนยอดเขา วัดเขากงตั้งอยู่ในตำบลเขากง อำเภอเมือง มีเนื้อที่กว้าง 142 ไร่ พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2509 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2512 สิ้นค่าก่อสร้าง ทั้งสิ้นกว่า 5 ล้านบาท องค์พระเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา หน้าตักกว้าง 17 เมตร สูงจากบัวใต้พระเพลา ถึงพระเกศบัวตูม 23 เมตร และ ได้มีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมด้วยดินจากสังเวชนียสถาน มา ประดิษฐานที่พระอุระเบื้องซ้าย การก่อสร้างเป็นแบบคอนกรีตเสริมเหล็กประดับด้วยกระเบื้องโมเสดสีทอง องค์พระพุทธรูป มีลักษณะตามอิทธิพลของสกุลศิลปะอินเดียใต้โจฬะรุ่นหลัง จะพบพุทธรูปสกุลนี้ มากที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จนเรียกกันว่า “แบบนครศรีธรรมราช” หรือเรียกอย่างสามัญว่า พระพุทธรูป แบบ “ขนมต้ม” เนื่องจากพระวรกายล่ำสันทุกส่วน สังฆาฏิจัดกลีบแผ่กว้างเต็มพระอังสาเบื้องซ้ายและชายจีวร ใต้พระเพลาทำเป็นริ้วให้ความรู้สึกของการตกแต่งสวยงามกว่าแบบอื่นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากองค์พระพุทธทักษิณมิ่งมงคลแล้ว ยังมีพระอุโบสถและเจดีย์สิริมหามายา ซึ่งเป็นรูปทรง ระฆัง ภายในโปร่ง บนยอดสุดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอันศักดิ์สิทธิ์