web analytics
พระเครื่อง

เหรียญสมเด็จพระสังฆราช (จวน) วัดมกุฏกษัตริยาราม ที่ระลึกบูรณะพระเจดีย์ ปี พ.ศ. 2511

เหรียญสมเด็จพระสังฆราช (จวน) วัดมกุฏกษัตริยาราม ที่ระลึกบูรณะพระเจดีย์ ปี พ.ศ. 2511

คณาจารย์ทั่วประเทศจารแผ่นทองถวายเป็นโลหะชนวนและมีผู้นำชนวนพระกริ่งมากมายมาถวายเพื่อร่วมสร้างเหรียญรุ่นนี้ พร้อมผ่านพิธีปลุกเสกอันยิ่งใหญ่ของวัด โดยพระองค์ทรงเป็นประธานและได้มอบให้กับผู้ร่วมสมทบทุนบริจาคทรัพย์ในกาลนั้น
พิธีปลุกเสกพร้อมกับพระกริ่งวชิรมกุฏ เป็นพิธีพุทธาภิเษกที่ใหญ่มากเพราะปลุกเสกกันถึง 9 วัน 9 คืน สำหรับพิธีเททองหล่อพระกริ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงมาดำเนินการเททองเอง พอมีคนรู้ประวัติของพระชุดนี้มากขึ้นก็ทำให้ปัจจุบันพระชุดนี้มีคนเก็บเข้ารังกันเยอะ โดยเฉพาะพระกริ่งวชิรมกุฏ ที่ถูกจัดอยู่ในทำเนียบพระที่เกี่ยวข้องกับในหลวงรัชกาลที่ ๙

ประวัติการสร้าง
เมื่อ พ.ศ. 2511 เป็นปีที่วัดมกุฎกษัตริยารามฯ มีอายุครบ 100 ปี และเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (อุฏฐายีมหาเถระ) มีพระชนมายุครบ 70 พรรษา ทางคณะกรรมการวัดได้จัดงานฉลองวัดและฉลองพระชนมายุถวาย และได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อพระพุทธรูป , พระกริ่ง ,พระชัยวัฒน์ และเหรียญพระรูปสมเด็จพระสังฆราช “จวน” (อุฏฐายีมหาเถระ)
พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับอาราถนาทำพิธีปลุกเสกและนั่งปรก จานวน 100 รูป อาทิเช่น
– หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพ ฯ
– หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม
– พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ปัตตานี
– พ่อท่านคล้าย วัดจันดี นครศรีธรรมราช
– พระอาจารย์ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร
– พระอาจารย์มหาบัว วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี
– หลวงพ่อเงิน (พระราชธรรมาภรณ์) วัดดอนยายหอม นครปฐม
– หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี
– หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม
– หลวงพ่อเทียม หลวงพ่อกี๋ หลวงพ่อนอ หลวงปู่นาค วัดระฆัง
– หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยา
– หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว
– หลวงพ่อเฮี้ยง วัดป่า
– หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา

ชนวนโลหะสุดยอดแห่งยุค เนื่องจากวัดมกุฎกษัตริยาราม เป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ (พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4) ทรงสร้างเป็นพระอารามหลวง มีอายุยั่งยืนมาหลายปี ยังไม่เคยสร้างของที่ระลึกเป็นส่วนพระอารามหรือส่วนพระองค์เลย การสร้างในครั้งนี้จึงเป็นครั้งหนึ่งครั้งเดียวเท่านั้น จึงได้เสาะแสวงหาเนื้อชนวนโลหะที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ ซึ่งบรรดาเจ้าคณะและเจ้าอาวาส พร้อมทั้งพระเกจิอาจารย์ทั่วราชอาณาจักรกว่า 500 องค์ จึงยินดีถวายโลหะที่ปลุกเสกไว้แล้วและเป็นส่วนที่ยังเหลืออยู่ หรือที่ลงอักขระยันต์ในแผ่นโลหะถวายให้เพื่อเป็นส่วนผสมใหม่ โดยประสงค์จะให้พระที่สร้างขึ้นในครานี้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติทุกประการ
และการสัตยาธิษฐาน แผ่นโลหะที่ลงคาถาอาคมเลขยันต์ ซึ่งนำมาเป็นส่วนผสมในการหล่อหลอมเป็น “พระวชิรมงกุฏ” และเหรียญรูปพระสังฆราชในครั้งนี้ พระเถระและพระเกจิอาจารย์ได้ตั้งสัตยาธิษฐานให้เกิดคุณานุภาพต่างๆ ดังนี้
1. เพื่อให้เป็นมหาอุต
2. เพื่อให้แคล้วคลาด
3. เพื่อให้อยู่ยงคงกระพัน
4. เพื่อให้คุ้มกันอันตราย
5. เพื่อให้มีเมตตามหานิยม
6. เพื่อให้มีโชคลาภ
7. เพื่อให้เกิดสวัสดิมงคล
8. เพื่อให้เกิดชนะศัตรู
9. เพื่อให้เกิดผลอันแล้วแต่อธิษฐาน

Facebook Comments
แบ่งปันลิงค์นี้ :