web analytics
ชีวประวัติประชาสัมพันธ์

ทำเนียบ “พระสังฆราช” แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ทำเนียบ “พระสังฆราช” ดังรายพระนามต่อไปนี้

๑. สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) วัดระฆังโฆสิตาราม พ.ศ. ๒๓๒๕–๒๓๓๗

๒. สมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ พ.ศ. ๒๓๓๗–๒๓๕๙

๓. สมเด็จพระสังฆราช (มี) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ พ.ศ. ๒๓๕๙–๒๓๖๒

๔. สมเด็จพระสังฆราช “ญาณสังวร” (สุก) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ พ.ศ. ๒๓๖๓–๒๓๖๕

๕. สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ พ.ศ. ๒๓๖๕–๒๓๘๕

๖. สมเด็จพระสังฆราช (นาค) วัดราชบูรณะราชวรวิหาร พ.ศ. ๒๓๘๖–๒๓๙๒

๗. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พ.ศ. ๒๓๙๔–

๒๓๙๖

๘. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ. ๒๓๙๖–๒๔๓๕

๙. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุส.สเทว) วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม

พ.ศ. ๒๔๓๖–๒๔๔๒

๑๐. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ. ๒๔๔๒–๒๔๖๔

๑๑. พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

พ.ศ. ๒๔๖๔–๒๔๘๐

๑๒. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติส.สเทว) วัดสุทัศนเทพวราราม

พ.ศ. ๒๔๘๑–๒๔๘๗

๑๓. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร

พ.ศ. ๒๔๘๘–๒๕๐๑

๑๔. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตติโสภณ มหาเถระ) วัดเบญจมบพิตร

ดุสิตวนาราม พ.ศ. ๒๕๐๓–๒๕๐๕

๑๕. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทยมหาเถระ) วัดสระเกศราช

วรมหาวิหาร พ.ศ. ๒๕๐๖–๒๕๐๘

๑๖. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายีมหาเถระ) วัดมกุฏกษัตริยาราม

พ.ศ. ๒๕๐๘–๒๕๑๔

๑๗. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณณสิริมหาเถระ) วัดพระเชตุพน

วิมลมังคลาราม พ.ศ. ๒๕๑๕–๒๕๑๗

๑๘. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสนมหาเถระ) วัดราชบพิธสถิต

มหาสีมาราม พ.ศ. ๒๕๑๗–๒๕๓๑

๑๙. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) วัดบวรนิเวศ

วิหาร พ.ศ. ๒๕๓๒-ปัจจุบัน

4664091500544
ขอบคุณภาพจาก คลังประวัติศาสตร์ไทย โดย คุณ สิทธินันท์ กันมล

ความแตกต่างของ “ยศ”พระสังฆราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

๑. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
๒. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
๓. สมเด็จพระสังฆราช

เหตุที่ต้องมีการแบ่งอิสริยยศของพระสังฆราชออกเป็น ๓ ชั้นนั้น สืบเนื่องจากผู้ที่มาดำรงตำแหน่งพระสังฆราชมีฐานันดรศักดิ์ที่แตกต่างกันออกไป

ในอดีตนั้นกรุงรัตนโกสินทร์มีพระบรมวงศ์ศานุวงศ์ ราชนิกูล และสามัญชน ขึ้นดำรงตำแหน่งพระสังฆราช จึงทำให้สกุลยศที่ติดตัวมาส่งผลถึงการออกพระนามของพระสังฆราชแต่ละพระองค์ ดังจะอธิบายต่อไปนี้

๑. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า คือ อิสริยยศของพระสังฆราชที่มีฐานันดรศักดิ์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบวรราชเจ้า หรือมีฐานันดรศักดิ์ในอดีตเป็นพระองค์เจ้า เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า, พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า เป็นต้น และเมื่อได้เป็นพระสังฆราชแล้วมักจะได้รับ(พระราชทาน)ถวายการทรงกรม ที่ กรมพระ หรือ กรมพระยา นับตั้งแต่อดีตกรุงรัตนโกสินทร์มี”สมเด็จพระมหาสมณเจ้ามาแล้ว ๓ พระองค์” เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาสุกรี พระราชโอรสในรัชกาลที่1 (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส) เป็นต้น

๒. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า คือ อิสริยยศของพระสังฆราชที่มีฐานันดรศักดิ์เป็นเจ้านายในพระราชวงศ์ชั้น หม่อมเจ้า และ ราชนิกูลชั้นหม่อมราชวงศ์หรือหม่อมหลวงที่ได้รับการสถาปนาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเป็นกรณีพิเศษ และเมื่อได้เป็นพระสังฆราชแล้วมักจะได้รับ(พระราชทาน) ถวายการทรงกรม ที่ กรมหลวง นับตั้งแต่อดีตกรุงรัตนโกสินทร์มี”สมเด็จพระสังฆราชเจ้า มาแล้ว ๒ พระองค์” คือ ๑.หม่อมราชวงศ์ชื่น นพวงศ์(สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์) ๒. หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์)

๓. สมเด็จพระสังฆราช คือ พระยศของพระสังฆราชที่มีฐานันดรศักดิ์เป็นสามัญชนมีพระพรรษาสูงสุดขึ้นเป็นพระประมุขฝ่ายสงฆ์ นับตั้งแต่อดีตกรุงรัตนโกสินทร์มี”สมเด็จพระสังฆราช มาแล้ว ๑๔ พระองค์” เช่น สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช , สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช , สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชเป็นต้น
ในช่วงงานพระศพสมเด็จพระสังฆราชนี้ ทางเพจคลังประวัติศาสตร์ไทยจะนำเกร็ดประวัติศาสตร์และความรู้ต่างๆในงานพิธีนี้มาเผยแพร่ให้สมาชิกเพจและคนไทยได้ศึกษาสืบต่อไป ขอบคุณสมาชิกเพจทุกท่าน

จากภาพ คือพระสังฆราช ๓ พระองค์ที่มีอิสริยยศแตกต่างกันออกไปตามฐานันดรศักดิ์
(ในข้อมูลได้บันทึกไว้ถึงองค์ที่ ๑๙ )

Facebook Comments
แบ่งปันลิงค์นี้ :