พระญาณสิทธาจารย์ (วิ.) (หลวงพ่อทองพูล สิริกาโม)
พระครูสิริธรรมวัฒน์ (หลวงพ่อทองพูล สิริกาโม)
ท่านเป็นพระกรรมฐานรุ่นแรก แห่งกองทัพธรรมสายท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ โดยพระเถระรุ่นนี้ ได้แก่ พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ หลวงปู่คำตัน พระครูอุดมศีลวัฒน์ วัดป่าสถิตย์ธรรมมาราม พระครูปัญญาวรากร วัดป่าวิเวกพัฒนาราม โดยเฉพาะท่านอาจารย์ทองพูลกับท่านอาจารย์จวน ทั้ง 2 องค์ มีความสนิทสนมกันมาก
ท่านอาจารย์ทองพูล เดิมชื่อหนูพูล นามสกุล เอนไชย เกิดที่บ้านเดื่อศรีคันไชย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร บิดาชื่อนายเคน มารดาชื่อนางสุภี เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 7คน
ตั้งแต่วัยเด็กท่านอาจารย์ทองพูลมีลักษณะนิสัยสุขุมเยือกเย็น พูดน้อย อ่อนน้อมถ่อมตน อยู่ในโอวาทของพ่อแม่ญาติพี่น้อง มีจิตเมตตา ท่านอาจารย์ได้บรรพชาอุปสมบทครั้งแรก เป็นพระสงฆ์ในฝ่ายมหานิกายที่วัดท่าเดื่อ โดยมีพระอุปัชฌาย์สิงห์ (ปัจจุบันคือ พระครูนรสีสาสน์ธำรง รองเจ้าคณะอำเภอวานรนิวาส)
การบวช ครั้งนั้นเป็นการบวชในงานบุญประเพณีของผู้ที่ท่านอาจารย์คุ้นเคย และต่อมาท่านอาจารย์ทองพูลได้พบกับพระอาจารย์สีโห เขมโก ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์หลวงปู่มั่น และเป็นพระเถระรุ่นเดียวกับหลวงปู่เทสก์, หลวงปู่ขาว, หลวงปู่ฝั้น โดยท่านอาจารย์ทองพูลได้เปลี่ยนนิกายใหม่เป็นฝ่ายธรรมยุต โดยมี่พระอาจารย์เจดีย์(จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสมุห์สวัสดฺ เป็นพระกรรมวาจาจาร มีฉายาว่า สิริกาโม เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2495
นับ ตั้งแต่การอุปสมบท ท่านอาจาย์ทองพูล ได้ตั้งจิตแน่วแน่ในการปฏบัติธรรมตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และถึงขั้นที่เรียกได้ว่ามอบกายถวายชีวิต โดยการออกธุดงค์หาสถานที่วิเวกเพื่อเร่งความเพียร บำเพ็ญภาวนา เพียงพรรษาแรกท่านอาจารย์ได้ถือเนสัชชิธุดงค์ คือการไม่นอน ไม่ยอมให้หลังแตะกับพื้นตลอดพรรษาและอดอาหารควบคู่กันไป ท่านอาจารย์ทองพูลยังป่วยอาพาธเป็นไข้มาเลเรียนอย่างหนัก แต่ท่านอาศัยธรรมโอสถขันติธรรมเพ่งเวทนาที่เกิดขึ้นจนไข้มาเลเรียหายไปเอง
สำหรับ วัดสามัคคีอุปถัมภ์แห่งนี้ ท่านอาจารย์ทองพูลได้เดินทางมาในช่วง พ.ศ. ๒๕๐๒ ครั้งแรกยังเป็นแค่ภูดิน อยุ่ทางทิศตะวันตกของตัวอำเภอบึงกาฬ โดยชาวบ้านเรียกภูดินแห่งนี้ว่า ภูกระแต เนื่องจากมีสัตว์พวกกระรอก กระแต รวมถึงสัตว์ป่าอื่นๆ อาศัยอยู่ชุกชุมตามสภาพที่เป็นป่าดงทึบ รกครึ้ม
เมื่อ ท่านอาจารย์มาถึงบริเวณภูกระแต ในคืนแรกท่านจำวัดใต้ต้นบก และ 3-4 วันต่อมา ชาวบ้านได้ทำเพิงพักนั่งร้าน และกุฎิชั่วคราวแบบง่ายๆ ทำด้วยไม้ไผ่ป่า จากนั้นท่านอาจารย์จึงได้พัฒนาวัดเรือยมาจวบจนถึงปัจจุบัน โดยได้รับแรงศรัทธาสามัคคีร่วมใจจากคณะลูกศิษย์ลูกหาทั้งที่เป็นพระภิกษุ สามเณร และอุบาสก อุบาสิกา
ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บวัดป่ากรรมฐาน
Facebook Comments