web analytics
พระเครื่อง

หลวงปู่ทวด หลวงพ่อแดง วัดศรีมหาโพธิ์

-พระหลวงพ่อทวด เตารีด รุ่น 1 วัดศรีมหาโพธิ์ จ.ปัตตานี พ.ศ. 2539
หลวงพ่อทวด เตารีดรุ่น1 วัดศรีมหาโพธิ์ พ.ศ.2539
ย้อนกลับไปเมื่อ พ.ศ. 2538 เมื่อ 2 หนุ่มพนักงานธนาคารทหารไทย สาขายะลา ถูกโจรปล้นเงินขณะนาเงินส่งมอบให้ถูกค้า ย่านใจกลางเมืองยะลาและใช้อาวุธปืน ยิงจานวน 5 นัด แต่กระสุนด้านทั้งหมด ได้ยินเพียง “ แชะ แชะ “ “แชะ แชะ” และ “แชะ” ส่งผลให้ชื่อของ หลวงปู่แดง และหลวงพ่อทวด พิมพ์พิเศษ ของวัดศรีมหาโพธิ์ เป็นที่รู้จักกันใน ชื่อ “หลวงพ่อทวด รุ่น 5 แชะ”
ในขณะที่หลวงพ่อทวด รุ่น 5 แชะ กาลังโด่งดังเป็นพลุ ทางอาเภอโคกโพธิ์ ได้หาทุนทรัพย์ในการสร้างอาเภอหลังใหม่ ซึ่งผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ได้ขอความเมตตาต่อพระอาจารย์นอง วัดทรายขาว ให้รูปท่านช่วยขอพระหลวงพ่อทวด รุ่น 5 แชะ จากพระปลัดจ่าง รองเจ้าอาวาสและรักษาการณ์เจ้าอาวาสวัดศรีมหาโพธิ์ในขณะนั้น เพื่อจัด
หลวงพ่อทวดชุดพิเศษ มอบให้แก่ผู้สมทบทุนสร้างอาเภอโคกโพธิ์ ในกาลนั้นพระปลัดจ่าง ได้ถวายพระหลวงพ่อทวด รุ่น 5 แชะ ให้แด่พระอาจารย์นอง จานวนประมาณ 1500 องค์

10446218_929742377042376_755251649253855203_o

หลวงพ่อทวด รุ่นปาฏิหาริย์ ชุดสร้างอำเภอโคกโพธิ์
ซึ่งองค์กลาง คือ หลวงพ่อทวดรุ่น 5 แชะ วัดศรีมหาโพธิ์ จ.ปัตตานี
ภายหลังจากที่พระปลัดจ่างได้มอบพระหลวงพ่อทวด รุ่น 5 แชะ เพื่อมอบให้กับผู้ร่วมสบทบทุนทรัพย์สร้างอาเภอโคกโพธิ์แล้ว พระอาจารย์นองได้คาสั่งต่อพระปลัดจ่างให้จัดสร้างหลวงพ่อทวดขึ้นแล้วจะทาการปลุกเสกให้เป็นกรณีพิเศษ เป็นที่รู้กันดีว่า ในเวลานั้น พระอาจารย์นอง ท่านจะไม่รับกิจนิมนต์อารธนาจิตพุทธาภิเษกพระเครื่องรุ่นใดๆ เลย เนื่องจากท่านมีปัญหาสุขภาพ พระปลัดจ่าง ตกลงได้ทาการสร้างพระเครื่องหลวงพ่อทวดหลังเตารีด โดยทาการถอดพิมพ์จากหลวงพ่อทวด รุ่น 5 แชะ ซึ่งกาลังมีชื่อเสียงโด่งดังถึงขีดสุดในขณะนั้น

10446262_929742713709009_7615606763007559513_o

ชนวนโลหะและมวลอันทรงคุณวิเศษในการสร้าง หลวงพ่อทวดเตารีด วัดศรีมหาโพธิ์ ในครั้งนั้น ประกอบด้วยมวลสาระสาคัญต่างๆ อาทิ
1. ระฆังเก่าของทางวัดศรีมหาโพธิ์สร้างเมื่อ พ.ศ. 2483 ( เนื่องจากทางวัดศรีมหาโพธิ์ ได้หอระฆังและหล่อระฆังใบใหม่แทน)
2. ชนวนรูปหล่อหลวงปู่แดง (หลวงปู่แดง เททองหล่อด้วยรุปท่านเอง)
3. ชนวนรูปเหมือนหลวงพ่อทวดแสดงปาฏิหาริย์เหยียบน้าทะเลจืด โปรดสรรพสัตว์ ( ดวงพระวิญญาณของหลวงพ่อทวด แสดงนิมิตให้สร้างขึ้น)
4. ตะกรุดเก่าและแผ่นยันต์ต่างๆ
5. แผ่นยันต์จาร
– แผ่นยันต์พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว จ.ปัตตานี
– แผ่นยันต์หลวงปู่ทอง วัดสาเภาเชย จ.ปัตตานี
– แผ่นยันต์หลวงปู่สุข วัดตุยง จ.ปัตตานี
– แผ่นยันต์หลวงปู่ทอง วัดป่ากอ จ.ปัตตานี
– แผ่นยันต์หลวงปู่เขียว วัดห้วยเงาะ จ.ปัตตานี
– แผ่นยันต์หลวงพ่อทอง วัดตะเคียนทอง จ.ปัตตานี
จานวนการสร้าง 15000 องค์ ( โดยประมาณ )
โดยมีการตอกโค๊ต เลข 1 หมายถึง หลวงพ่อทวดเตารีด ซึ่งทางวัดศรีมหาโพธิ์ สร้างเป็นรุ่น 1 และโค๊ตรูประฆัง หมายถึง สร้างจากระฆังเก่า บางองค์ตอกโค๊ตเลข 1 อยู่บนโค๊ตรูประฆัง บางองค์ตอกโค๊ตรูประฆังอยู่บนโค๊ตเลข 1 และบางองค์ไม่มีการตอกโค๊ตใดๆ เลย เนื่องเกิดการผิดพลาดในระหว่างการตอกโค๊ต
ได้ทาพิธีหล่อโลหะ และเทชนวนหล่อพระ โดยมี พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว เป็นประธานฝ่านบรรพชิต และ ฯพณฯ พลากร สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีในขณะนั้น เป็นประธานฝ่านฆราวาส วัตถุมงคลที่ร่วมการหล่อในวาระนั้น มีรูปเหมือนลอยองค์หลวงพ่อทวดเหยียบน้าทะเลจืด และ พระกริ่งรวมอยู่ด้วย

เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระปลัดจ่างได้นาไปให้พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว ประกอบพิธีพุทธาภิเษกตามแบบฉบับการปลุกเสกหลวงพ่อทวดเหรียญน้าทะเลจืด ณ วัดทรายขาวและวัดศรีมหาโพธิ์ รวมทั้งสิ้น 5 วาระ มีพระเถระร่วมประกอบพิธีกรรมดังนี้
1. หลวงพ่อแดง วัดบูรพาราม จ.ปัตตานี
2. หลวงปู่หวาน วัดสะบ้าย้อย จ.สงขลา
3. หลวงปู่เขียว วัดห้วยเงาะ จ.ปัตตานี
4. หลวงปู่ทอง วัดป่ากอ จ.สงขลา
5. หลวงปู่ทอง วัดสาเภาเชย จ.ปัตตานี
6. หลวงปู่สุข วัดตุยง จ.ปัตตานี
7. หลวงพ่อนุ่ม วัดมะเดื่อทอง จ.ปัตตานี
8. หลวงพ่อทอง วัดตะเคียนทอง จ.ปัตตานี
9. หลวงพ่อดา วัดใหม่นภาราม จ.นราธิวาส
เป็นต้น

ซึ่งเรียกหลวงพ่อทวด รุ่นนี้ว่า “รุ่น 1 หลังเตารีด พิมพ์พิเศษ”
หลวงพ่อทวด รุ่น 1 หลังเตารีด พิมพ์พิเศษ ได้นามาให้ประชาชนผู้ศรัทธาในสมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้าทะเลจืดเช่าบูชาใน พ.ศ.2539 เพียงบางส่วน อีกส่วนหนึ่งทางวัดได้เก็บไว้หน้าพระประธานในอุโบสถ และต่อมา ในพ.ศ.2551 พระครูโสภิตโพธิคุณ (หลวงพ่อจ่าง) เจ้าอาวาสวัดศรีมหาโพธิ์ ได้นาพระเครื่องหลวงพ่อทวด รุ่น 1 หลังเตารีด พิมพ์พิเศษ ออกมาให้ประชาชนได้เช่าบูชา เพื่อหาปัจจัยในการสร้างกาแพงวัดศรีมหาโพธิ์ หลังจากผ่านการประกอบพิธีกรรมต่างๆ นานา มาแล้ว 12 ปีเต็ม พุทธคุณของสมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้าทะเลจืด นั้นครอบจักรวาล แคล้วคลาดปลอดภัย เมตตามหานิยม ป้องกันอันตรายในระหว่างๆ การเดินทางด้วยพาหนะต่างๆ เป็นต้น

ขอขอบคุณเนื้อหาจากคุณ Phattharaphong Hemtasilpa สำหรับวิทยาทานที่ได้นำมาแบ่งปันในครั้งนี้ด้วย

Facebook Comments
แบ่งปันลิงค์นี้ :