web analytics
พระเครื่อง

หลวงปู่ทวด วัดไทร ปี 2506




…หลวงพ่อทวดวัดไทรมีการจัดสร้างจริงหรือไม่….
วัดไทรที่จริงแล้วชื่อวัดไทรใต้ครับ “วัดไทรใต้”ตั้งอยู่ เลขที่ 4 ถนนโกสีย์เหนือ ต.ปากน้ำโพ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ เป็นวัดที่เก่าแก่ ก่อสร้างมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2350 อยู่บนที่ราบสูงเชิงเขา ติดริมแม่น้ำปิง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.2355 เดิมมีชื่อว่า วัดไทรทอง ต่อมา มีการสร้างวัดทางทิศเหนือของวัดไทรทอง ชื่อว่า วัดไทรเหนือ วัดไทรทองจึงเปลี่ยนชื่อเป็น วัดไทรทองใต้ แต่ประชาชนเรียกว่า วัดไทรใต้ คำว่า ทอง หายไป วัดนี้เคยเป็นสำนักวิปัสสนามาก่อน และเคยเป็นที่ตั้งชั่วคราวของศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และสภาพเดิมเป็นชุมชนตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิงมีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่าง มาก ประชาชนเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มีวัดจึงเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ วัดสมัยก่อนๆที่ตั้งริมแม่น้ำจะมีต้นไทรจำนวนมาก ชุมชนแถวนี้สมัยก่อนอยู่ริมน้ำจึงมีต้นไทรมากมายจึงเป็นที่มาของวัดไทร ปัจจุบันมีพระครูนิโครธธรรมวุฒิ เป็นเจ้าอาวาส

ที่มาของชื่อวัดไทรก็เพราะบริเวณวัดมีต้นไทรขนาดใหญ่อยู่หลายต้น


พระประธานภายในพระอุโบสถ”หลวงพ่อโต”

วิหารหลวงพ่อทวดที่ท่านอาจารย์ทิมมา ร่วมพิธีในปี2506เป็นคำตอบว่ามีการสร้างหลวงพ่อทวดขึ้นจริงในปี2506มีหลัก ฐานอยู่ที่วัดคือหล่อพระบูชาหลวงพ่อทวดเพื่อให้ประชาชนสักการะพร้อมทั้ง พระบูชาขนาดเล็กหน้าตัก7นิ้วและ5นิ้ว พระหลังเตารีด และเนื้อว่าน โดยคำบอกเล่าของหลวงตาที่วัด

ที่ฐานลพ.ทวดที่หล่อในปี2506…. องค์บนคือองค์ที่หล่อในปี2506ที่ท่านอาจารย์ทิมมาเป็นประธานในพิธี…

ส่วนองค์ล่างคือองค์จำลองที่ทางวัดจัดสร้างขึ้นในยุคหลัง ที่สร้างองค์จำลองก็เพราะว่าทางวัดมีงานประเพณีสรงน้ำพระในวัดที่ 18 เม.ษ ของทุกปี
จะนำหลวงพ่อทวดขึ้นรถแห่รอบตลาดปากน้ำโพเพื่อให้ประชาชนได้สักการะและ สรงน้ำ ในอดีตได้นำองค์จริงขึ้นขบวนแห่
แต่มาภายหลังกลัวว่าองค์จริงจะชำรุดก็เลยได้ทำองค์จำลองขึ้นมาเพื่อใช้ในการนี้แทนองค์จริง
คำถามต่อมา…พระแท้เป็นแบบไหน…
พระแท้ของวัดไทรมีหลักการพิจารณาไม่ยากแต่ละพิมพ์มีเอกลักษณ์เฉพาะ..
วัตถุมงคลที่จัดสร้างในปี2506(ที่เป็นหลวงพ่อทวด)มีดังนี้..
พระบูชา สร้างมา 2 ขนาด หน้าตัก 5 นิ้วและหน้าตัก 7 นิ้ว

หลังเตารีดมี2พิมพ์คือ หน้าหนุ่มและหน้าแก่..
…หลังเตารีดพิมพ์หน้าหนุ่ม เป็นพิมพ์ที่ใกล่้เคียงกับวัดช้างให้ เนื้อโลหะผสม สร้างน้อยเป็นพิมพ์นิยม…


หน้าหนุ่มองค์ที่ 2


องค์ที่3


องค์ที่4

หลักการพิจารณาชองหลังเตารีดวัดไทรก็คล้ายๆ กับวัดช้างให้ คือพิจารณาพิมพ์ รอยตะไบ ยาดำที่นำมาเคลือบผิวไม่ใช่รมดำ


พิมพ์หน้าแก่
เอกลักษณ์ของพิมพ์นี้ที่ให้พิจารณาคือ..พระพิมพ์นี้มีแต่เนื้อทองเหลือง..พิมพ์พระ..พื้นผิว..ยาดำ..รอยตะไบ ฯลฯ..ลองดูตัวอย่าง



องค์ที่2





คุณ nui21 จาก www.g-pra.com เป็นผู้ให้ข้อมูล
อ่านฉบับเต็มได้โดย คลิกที่นี่

ขอขอบคุณสำหรับภาพและข้อมูลมา ณ โอกาสนี้
ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและบุญกุศลแห่งวิทยาทานที่ได้เผยแพร่แก่ผู้อื่นนี้ จงบันดาลให้ท่านเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ และประสบสิ่งอันถึงปรารถนาทุกทิพาราตรีกาลเทอญฯ

Facebook Comments
แบ่งปันลิงค์นี้ :