การตัดแต่งพระพิมพ์ พระแผง เป็นการทำลายวัตถุโบราณหรือไม่ เป็นการอนุรักษ์ที่ถูกต้องหรือไม่
กล่าวถึงการสร้างพระพิมพ์ดินเผาในสมัยโบราณมีความเชื่อว่า การสร้างพระพิมพ์เป็นการสืบต่ออายุศาสต์นา เป็น “อุเทสิกเจดีย์” คือสิ่งที่สร้างขึ้นโดยเจตนาอุทิศแก่พระพุทธเจ้าหรือแทนองค์พระพุทธเจ้า เช่น เจดีย์ บัลลังก์ รอยพระพุทธบาท พระพุทธรูป พระพิมพ์ เป็นต้น โดยการสร้างพระพิมพ์ปางต่าง ๆที่เป็นเรื่องราวทางศาสนาเป็นข้อมูลเชิงสัญลักษณ์รูปภาพ ให้คนรุ่นหลังได้ทราบถึงพุทธประวัติของพระพุทธองค์ เหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนาที่เกิดขึ้น บรรจุใว้ในเจดีย์ พระบรมธาตุ ในกาลต่อมาคนรุ่นหลังมาพบจะได้ทราบถึงเรื่องราวต่าง ๆ ของศาสนาพุทธเป็นการสืบทอดศาสนา ไม่มีเจตนาที่จะสร้างขึ้นเพื่อนำมาพกติดตัวหรือห้อยคอบูชา พระพิมพ์จึงมีขนาดใหญ่ไม่เหมาะสำหรับห้อยบูชา
เพราะฉะนั้น พระพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่เมื่อถูกทับถมผ่านการเวลามายาวนานนับพันปี การขุดพระพิมพ์โดยมากจะชำรุดหักบิ่นเป็นส่วนใหญ่ เศษเล็กเศษน้อยที่ชำรุดประชาชนชาวพุทธที่มีความศรัทธาในศาสนาพุทธ ในพระบรมธาตุ จึงเก็บชิ้นส่วนใว้บูชา ตัดแต่ง แยกองค์พระใว้แจกญาติพี่น้องลูกหลาน บุคคลซึ่งเป็นที่รัก เพื่อจะได้นำมาบูชาใส่คุ้มครองตัวเป็นมรดกทางจิตใจ พระที่สมบูรณ์ก็ยังถูกเก็บรักษาบูชา นำไปศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะ วัฒนธรรมของบรรพบุรุษ รูปแบบพิมพ์ศิลปะไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือลบหลู่ทำลายแต่อย่างใด ยิ่งเป็นการดีบุคคลที่เห็นเป็นพระกรุสูงค่านำมาเลี่ยมทองห้อยบูชา แสดงถึงความศรัทธาความเคารพอย่างยิ่ง
” ถ้าวิญญาณสิ่งศักสิธิ์ผู้สร้างท่านได้เห็นคงเกิดความปลื้มปิติยินดีที่ลูกหลานเห็นคุณค่าพระพิมพ์ดินเผาที่ตนสร้างมีค่าทางจิตใจเหนือสิ่งใด และศิลปะความศรัทธาในองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ศาสนาพุทธยังคงอยู่ตลอดกาลนาน ”
เขียนโดย ธารชล เดชะวรรธนะ
สมาคมอนุรักษ์วัตถุโบราณ พิพิธภัณฑ์บ้านศิลป์ขอนแก่น